เดินทางไปขอพรให้เล่นเดิมพันชนะ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
หากท่านทั้งหลายต้องการเดิมทางไปขอพรให้เล่นเดิมพันคาสิโนออนไลน์ให้ได้กำไร แต่ไม่รู้จะไปที่ไหนนั้น เราขอแนะนำ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2
คือเป็นพระอารามหลวงชนิดพิเศษ ที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาขึ้น เพื่อเป็นวัดประจำพระนคร
หรือประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ในประเทศไทยปัจจุบัน พระอารามหลวงชนิดนี้ มีจำนวน 6 วัด ได้แก่
วัดในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร)
- วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
- วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
- วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
- วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร
วัดในส่วนภูมิภาค
- วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี
- วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม
วัดอรุณเป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
เดิมเรียกว่า “วัดมะกอก” ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น “วัดมะกอกนอก”
เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกันแต่ อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ชื่อ “วัดมะกอกใน” ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพ
ล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น “วัดแจ้ง”
เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัด นี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง
เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีและได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลาง พระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา
นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็น ราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้าน คู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐาน
พระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จ พระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
ได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์นี้มาจากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์ ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒โดยโปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐาน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ
ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก
วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มี พระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (ร. ๒) เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์
วัดแจ้งไว้ในมณฑป และมีการสมโภชใหญ่ ๗ คืน ๗ วัน(ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน
ณ วัด พระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง ส่วนพระบางนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรด
พระราชทานคืนไปนครเวียงจันทร์) แต่สำเร็จเพียงแค่กุฎีสงฆ์ก็สิ้นรัชกาลที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ เสียก่อน
ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ
ทั้งได้ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธาน ในพระอุโบสถ
และโปรดให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้วโปรดพระราชทาน พระนามวัดว่า “วัดอรุณราชธาราม”
พระประธาน
พระประธานในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามว่า “พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก”
หล่อในรัชกาลที่ ๒ กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ด้วยพระองค์เอง
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓ ศอกคืบ ประดิษฐานเหนือแท่น บนฐานชุกชี ที่พระพุทธอาสน์พระประธาน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้อัญเชิญพระบรมอัฐิรัชกาลที่ ๒ มาบรรจุได้ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๓๘
เวลา ๑๖.๐๐ น. เกิดอัคคีภัยไหม้พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รีบเสด็จพระราชดำเนิน
มาอำนวยการดับเพลิงด้วยพระองค์เอง และอัญเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชออกไปได้ทัน
เพลิงไหม้หลังคาพระอุโบสถหมด จึงโปรดให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถให้คืนดีดังเดิมและสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระบานริศรานุวัดติวงศ์ก็ประทานความเห็น ในการซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ
ให้รักษาของเก่าไว้อย่างดีที่สุด และภาพที่จะเขียนซ่อมใหม่ก็ให้กลมกลืนกับภาพเดิม
พระอุโบสถ
โดยรอบพระอุโบสถมีซุ้มใบเสมา ๘ ซุ้ม ในเสมาเป็นใบคู่ทำด้วยหินสลัก ลวดลายงดงามประดิษฐานอยู่ในซุ้มหินอ่อน
ทำเป็นรูปบุษบกยอดเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง สูง ๒ วา ๑ ศอก ระหว่างซุ้มใบเสมามีสิงโตหินแบบจีนตัวเล็ก ๑๑๒ ตัว
ตั้งอยู่บนแท่น มีเหล็กยึดแท่นให้ติดกันโดยตลอด เว้นแต่ช่องตรงกับบันไดพระอุโบสถริมช่องว่างนั้นมีตุ๊กตาหินรูปคนจีน
นั่งบนเก้าอี้หน้าสิงโตจีนอีกช่องละ๒ ตัว ๘ ช่อง รวมเป็น ๑๖ ตัว

พระวิหาร
ปูชนียสถานสำคัญของวัดอรุณราชวรารามอีกหลังหนึ่งคือพระวิหาร เป็นอาคารยกพื้นสูง เช่นเดียวกับพระอุโบสถ
หลังคาลด ๓ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี หน้าบันมีรูปเทวดาถือพระขรรค์ยืนอยู่บนแท่นประดับด้วยลายกนกลงรักปิดทอง
ประดับกระจก มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้ามีประตูเข้า ๓ ประตู ด้านหลังมี ๒ ประตู ผนังด้านนอก
ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลายก้านแย่งกระบวนไทย เป็นกระเบื้องที่รัชกาลที่ ๓ ทรงสั่งมาจากเมืองจีน
ปัจจุบันได้ใช้พระวิหารนี้เป็นการเปรียญของวัดด้วย พระประธานในพระวิหาร คือ พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๖ ศอก หล่อด้วยทองแดงปิดทองพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้หล่อขึ้นพร้อมกับพระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศเทพวราราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ ทางวัดได้พบพระบรมธาตุ ๔ องค์
บรรจุอยู่ในโกศ ๓ ชั้น อยู่ในพระเศียร ที่ฐานชุกชีด้านหน้าพระชุมภูนุท มีพระอรุณหรือพระแจ้งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
องค์พระและ ผ้าทรงครองหล่อด้วยทองต่างสีกัน หน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตร

ศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีน
มี ๖ หลัง อยู่ที่เขื่อนหน้าวัด ตรงมุมเหนือสุดที่ปากคลองวัดแจ้งหลัง ๑ ตรงกับประตูซุ้ม ยอดมงกุฎ ๓ หลัง
ตรงกับต้นพระศรีมหาโพธิ์หลัง ๑ และตรงกับทางเข้าพระปรางค์อีกหลัง ๑ ที่ศาลาเก๋งจีนมีสะพานยื่นลงไปในแม่น้ำ
เว้นแต่ด้านเหนือสุด ส่วนหลังที่ตรงกับทางเข้า พระปรางค์นั้น มีรูปจระเข้หินอยู่ด้านหน้าข้างละตัว ศาลาเหล่านี้สร้างขึ้น
ในรัชกาลที่ ๓เหมือนกันหมด คือ หลังคาเป็นรูปเก๋งจีน มียกพื้นสำหรับนั่งพักทำด้วยหินทรายสีเขียว โดยเฉพาะ ๓ หลัง
ตรงประตูซุ้มยอดมงกุฎนั้น หลังเหนือและใต้มีแท่นหินสีเขียวตั้งอยู่ตรงกลาง เข้าใจว่าจะเป็นที่สำหรับวางของและหลังศาลา
เก๋งจีน ๓ หลังนี้มีรูปกินรีแบบจีนทำด้วยหินทรายสีเขียว ตั้งอยู่ ๒ ตัว

ภูเขาจำลอง
อยู่หน้าวัดทางด้านเหนือ หลังศาลาน้ำรูปเก๋งจีน ๓ หลัง กล่าวกันว่า เดิมเป็นภูเขาจำลองที่โปรดให้สร้างขึ้น
ในพระบรมมหาราชวังในรัชกาลที่ ๑ ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ โปรดให้นำมาไว้ที่วัดนี้ ภูเขาจำลองนี้มีรั้วล้อมไว้เป็นส่วนหนึ่ง
โดยเฉพาะ มีตุ๊กตาจีน ๒ ตัวนั่งบนแท่นอยู่นอกรั้วด้านหน้า ตรงประตูเข้าทำเป็นรูปทหารเรือเฝ้าอยู่ ๒ คน

อนุสาวรีย์ธรรมเจดีย์
อยู่ด้านใต้ของภูเขาจำลอง มีถนนที่ขึ้นจากศาลาท่าน้ำเก๋งจีน ๓ หลังไปพระอุโบสถคั่นกลาง อนุสาวรีย์แห่งนี้
มีกำแพงเตี้ยๆเป็นรั้วล้อมรอบ ภายในรั้ว นอกจากจะมีโกฐิหินทรายสีเขียวแบบจีนบรรจุอัฐิของพระธรรมเจดีย์แล้ว ยังมีประตูและ
มีภูเขาจำลองเตี้ยๆ กับปราสาทแบบจีนเล็กๆ มีตุ๊กตาหินนอนอยู่ภายใน มีภาษาจีนกำกับซึ่งชาวจีนอ่านว่า ฮก ลก ซิ่ว