เรื่องของหนังสือเดินทาง (Passport)

หากท่านต้องการเดินทางไปเล่นคาสิโนที่ต่างประเทศล่ะก็ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ คือ Passport เพราะเป็นหลักฐานในการแสดงตัวตนของ ท่านในการเข้าหรือออกประเทศนั้นๆ ครับ บางประเทศที่เคร่งครัด เค้าสามารถขอตรวจพาสปอร์ตท่านได้ตลอดเวลา และหากท่านมีแล้วท่านยังต้องตรวจสอบวันหมดอายุของหนังสือเดินทางซึ่งบางประเทศ หนังสือเดินทางต้องมีอายุเหลืออย่างน้อย 6 เดือนนับจากวันกลับครับ และถ้าหากท่านยังไม่มี หรือต้องการต่ออายุหนังสือเดินทาง เราจะแนะนำดังนี้ครับบบบบ

  • กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ 
    • ที่อยู่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
    • โทรศัพท์ 02-203-5000 กด 1 (เมื่อเข้าสู่ระบบกรมการกงสุล กด 5 เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่)
  • สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 
    • ที่อยู่ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา(อาคารบี ประตูฝั่งทิศตะวันออก) ชั้น 7 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา 
    • ที่อยู่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้บางนา อาคาร “บางนาฮอลล์” (ด้านข้างศูนย์การค้า) ชั้น B1
    • โทรศัพท์ 0-2383-8401-4, โทรสาร 0-2383-8398
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า
    • ที่อยู่ ชั้น 5 อาคารเทสโก้โลตัส เลขที่ 3 ถนนบรมราชชนนี 11 แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
    • โทรศัพท์ 0-2433-0280-87, โทรสาร 0-2433-2554
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงใหม่ 
    • ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ 50000
    • โทรศัพท์ 0-5389-1535-6, โทรสาร 0-5389-1534
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงราย
    • ที่อยู่ อาคารนันทนาการในศูนย์บูรณาการเรียนรู้และนันทนาการ(สนามกีฬา)
    • โทรศัพท์ 0-5360-1323
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พิษณุโลก 
    • ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
    • โทร 055-258-173 หรือ 055-258-155 หรือ 055-258-131, โทรสาร 055-258-117
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครสวรรค์ 
    • ที่อยู่ ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
    • โทรศัพท์ 056-233-453 หรือ 056-233-454, โทรสาร 056-233-452
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุดรธานี 
    • ที่อยู่ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี (ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง) ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000
    • โทร 042-212827 หรือ 042-212-318, โทรสาร 042-222-810
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ขอนแก่น 
    • ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
    • โทรศัพท์ 0-4324-2707 หรือ 0-4324-3462 หรือ 0-4324-2655, โทรสาร 0-4324-3441
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุบลราชธานี 
    • ที่อยู่ อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000
    • โทรศัพท์ 045-242313-4, โทรสาร 045-242301
    • E-mail : [email protected]
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครราชสีมา 
    • ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
    • โทร 044-243-132 หรือ 044-243-124, โทรสาร 044-243-133
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จันทบุรี 
    • ที่อยู่ อาคารลานค้าชุมชน ถ.เลียบเนิน ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
    • โทรศัพท์ 039-301-706-9, โทรสาร 039-301-707
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สุราษฎร์ธานี 
    • ที่อยู่ ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
    • โทรศัพท์ 077-274940 หรือ 077-274942-3, โทรสาร 077-274941
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต 
    • ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
    • โทรศัพท์ 076-222-080 หรือ 076-222-081 หรือ 076-222-083, โทรสาร 076-222-082
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สงขลา 
    • ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จ.สงขลา 9000
    • โทรศัพท์ 0-7432-6510-1, โทรสาร 0-7432-6506
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ยะลา 
    • ที่อยู่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.)
    • ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
    • โทรศัพท์ 073-274-526 หรือ 073-274-036 หรือ 073-274-037, โทรสาร 073-274-527
  • สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พัทยา
    • ที่อยู่ ศูนย์การค้าพัทยาอเวนิืว ชั้น 1 ถนนพัทยาสาย 2 เลขที่ 399/9 หมู่ 10 ถนนพัทยาสาย 2 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
    • โทรศัพท์ 038-422438, โทรสาร 038-422437

เวลาเปิดบริการของกองหนังสือเดินทาง
ระหว่างวันจันทร์ – วันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.00 – 15.30 น .
สำหรับสำนักงานสาขาในกรุงเทพปริมณฑล ระหว่างเวลา 08.30 – 16.30 น.
สำหรับสำนักงานสาขาในต่างจังหวัด โดยไม่หยุดพักกลางวัน

5 มหาสถาน ศักดิ์สิทธิ์

 การเดิมพันคาสิโนออนไลน์นั้น ต้องมากับการเสี่ยงโชค หรือพึ่งพาดวงของตัวท่านเอง แต่จะทำอย่างไร ถ้ารู้สึกว่าตัวเองไม่มีโชค เสี่ยงดวงหรือเล่นเกมไปก็ไม่ได้กำไรเลย เราขอแนะนำให้ท่านไปขอพร ทำบุญ เพื่อเสริมดวงให้ท่านโชคดี เดิมพันคาสิโนออนไลน์ที่ไหนก็ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำแน่นอน วันนี้ ทีมงานจึงมี5สถานที่มาเเนะนำเหล่านักเดิมพันทั้งหลายให้เดินทางไปขอพรเพื่อเสี่ยงโชคกัน หนึ่งในดินแดนพุทธกาลอันเก่าแก่นั้น พม่า ถือเป็นหนึ่งประเทศที่มีประชาชนมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ด้วยแรงศรัทธาที่ปรากฏนั้นจะเห็นได้จากสถาปัตยกรรมและสถานที่ที่สร้างขึ้น จากแรงศรัทธาเรียงรายไปสุดขอบสายตา ถึงแม้ประเทศพม่าจะขึ้นชื่อได้ว่าเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาและมีความยากแคล้น ของประชากรเป็นจำนวนมาก แต่หาจะได้หยุดแรงศรัทธาเหล่านั้นได้ และถ้าจะกล่าวถึงพุทธสถานที่สำคัญของพม่า “5 มหาสถาน ศักดิ์สิทธิ์” คงจะเป็นพุทธสถานอันสำคัญที่เป็นที่สุดของประเทศพม่านั้นเอง

   มหาเจดีย์ชเวดากอง ทีตั้งตระหง่านส่องแสงเหลืองอร่าม ณ กรุงย่างกุ้ง เป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุ รวม 8 เส้น ของพระพุทธเจ้า มีประวัติตำนานเก่าแก่กว่า 2,000 ปี เหนังสือ Guinness Book of Records ได้จัดให้พระเจดีย์ชเวดากองเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในโลก นอกเหนือจากความสวยงามและความอลังการแห่งความศรัทธาของชาวพุทธแล้วนั้น รายรอบของพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ยังประกอบไปด้วยสิงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆที่ควรแก่การไปนมัสการขอพร อาทิ ลานอธิษฐานซึ่งเชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และเท่าที่ทราบก็เคยมีคนใหญ่คนโตของไทยไปตั้งจิตอธิษฐานจนประสบความสำเร็จมา หลายท่านแล้ว หรือการร่วมสรงน้ำพระพุทธรูปและสัตว์สัญลักษณ์ประจำวันเกิด ตั้งอยู่รอบ ๆ ลานเป็นคู่ ๆ ด้วย โดยเชื่อกันว่าการสรงน้ำพระพุทธรูปและสัตว์เหล่านี้ จะสร้างความบริสุทธิ์และความสุขความเจริญแก่ผู้สรงน้ำ รวมถึงการร่วมบูชาแม่ยักษ์ ที่เชื่อการว่าการบูชาท่านจะช่วยในการตัดกรรมหรือศัตรู หรือพระพยุงโชคชะตาอยู่ในช่องแคบเข้าได้ทีละคน นำพวงมาลัยเข้าไปสักการะ และเอาหน้าแนบกระจกเพื่อขอพร เชื่อถือว่าเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์มาก พระจินดามณีเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามมาก ทั้งองค์ประกอบขึ้นจากเพชรนิลจินดาต่าง ๆ สักการะขอพรเพื่อให้มีโชคลาภ เพิ่มพูนเงินทองทรัพย์สิน และเทวดาสุริยัน – เทวดาจันทราสำหรับผู้ที่ทำธุรกิจ ควรสักการะเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยทำให้ธุรกิจราบรื่น ประสบแต่ความสำเร็จ เป็นต้น

   มหาเจดีย์ชเวซิกอง เมืองพุกาม เป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างโดยพระเจ้าอโรรธามหาราชพระองค์แรก ผู้รวบรวมชนชาติพม่าเป็นปึกแผ่นได้เป็นครั้งแรกในอาณาจักรพุกามเมื่อ 900 ปีเศษมาแล้ว องค์เจดีย์สีทองอร่ามทรงระฆังคว่ำ สูง 160 เมตร ภายในมีหอผีนัต ซึ่งเป็นวิหารยาวที่ตั้งรูปผีหลวงที่ชาวพม่าเคารพนับถือ ในอดีตนั้นเจดีย์แห่งนี้มีความสำคัญของชาวพม่ามาก เพราะใช้เป็นสัญลักษณ์การแสดงตนเป็นพุทธมามกะมาตั้งแต่โบราณ สิ่งที่น่าสนใจสำหรับการเข้าชมเจดีย์นี้คือภาพประวัติพุทธชาดกของพระ พุทธเจ้าที่ปรากฏบริเวณผนัง พระมหาเจดีย์ซิกองเป็นที่บรรจุพระธาตุสำคัญ ๓ ส่วน คือ พระเขี้ยวแก้ว ที่กษัตริย์แห่งศรีลังกาได้นำมาถวาย พระธาตุกระดูกไหล่ ที่นำมาจากเมืองศรีเกษตร (ใกล้เมืองแปร) และพระธาตุพระนลาฏ (หน้าผาก) พระมหาเจดีย์ที่สำคัญเป็นอันดับสองรองจาก ชเวดากอง ในกรุงย่างกุ้ง นั่นคือ.. “พระเจดีย์ชเวสิกอง” แห่ง พุกาม

        เจดีย์ชเวมอดอร์ เมืองหงสาวดี หรือที่เราเรียกกันว่า พระธาตุมุเตา เป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุรวม 2 เส้น มีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี ด้วยความเลื่อมใสและศรัทธาต่อองค์พระธาตุของชาวพม่าจึงทำให้ชาวพม่าไปกราบ ไหว้ต่อองค์พระธาตุมุเตาอย่างไม่ขาดสายและสิ่งที่ทุกคนไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งยิ่งใหญ่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2473 จึงทำให้ยอดของพระธาตุมุเตาหักพังลงมาแต่สิ่งที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างมากคือ เมื่อยอดพระธาตุหักลงมาแต่องค์พระธาตุไม่หักลงถึงพื้น จึงเป็นความเชื่อของประชาชนทั้งชาวพม่าและชาวไทยว่าหากใครได้ไปกราบไหว้องค์ พระธาตุแล้วได้เอาไม้ไปค้ำไว้กับยอดพระธาตุที่หักลงมาแล้วเอาหน้าผากไปแตะ กับยอดองค์พระธาตุที่หักลงมาจะทำให้ชีวิตของคนคนนั้นไม่ว่าจะถึงช่วงชีวิต ที่ตกต่ำยังไงเราก็ยังไม่ตกต่ำถึงที่สุดก็เปรียบเหมือนยอดพระธาตุที่ต่อให้ ตกยังไงก็ตกไม่ถึงพื้นและทำให้ชีวิตของคนนั้นมีความมั่นคงถาวร

 พระมหามัยมุนี แห่งมัณฑะเลย์ เป็นพระพุทธรูปสำริดทรงเครื่องแบบกษัตริย์ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 เมตร เป็นที่ยอมรับกันว่า มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่ง “มหามุนี” แปลว่า “มหาปราชญ์” หล่อขึ้นในราว พ.ศ. 688 โดยชาวยะไข่ ชนกลุ่มน้อยในรัฐอาระกัน ทางทิศตะวันตกสุดของพม่าติดกับประเทศอินเดีย ต่อมาเมื่อพระเจ้าปดุงกษัตริย์พม่ายกทัพไปตีเมืองยะไข่ได้ จึงโปรดให้ชะลอพระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานที่เมืองมัณฑะเลย์ เมื่อ 200 ปีมาแล้ว มีตำนานเล่ากันว่า พระพุทธเจ้าทรงประทานลมหายใจให้พระมหามุนี เป็นตัวแทนสืบทอดพระศาสนา จึงเชื่อกันว่า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้มีลมหายใจจริง จึงต้องมีพิธีล้างพระพักตร์ให้ทุกเช้า ซึ่งพิธีนึ้ก็ยังคงดำรงอยู่มาตราบจนถึงปัจจุบัน

  พระธาตุอินทร์แขวน “ไจก์ทิโย” เมือง ไจก์โถ่ รัฐมอญ เชื่อกันว่าพระอินทร์เสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ เพื่อนำเอาพระธาตุมาแขวนไว้ให้ผู้มีบุญมากราบไหว้ ใครได้มาสักการะก็เท่ากับได้ไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ และจะได้สั่งสมอานิสงส์ให้ไปเกิดร่วมยุคกับพระศรีอาริยเมตตรัย และผู้ที่มีบุญก็จะสามารถมองเป็นองค์พระธาตุลอยอยู่อย่างชัดเจน พระธาตุอินทร์แขวนตั้งอยู่บนหน้าผาสูงกว่า 1,200 เมตร สร้างตั้งไว้บนก้อนหิน สูงถึง 5.5 เมตร เส้นรอบวงของก้อนหินราว 17 เมตร มองดูคล้ายก้อนหินตั้งอยู่หมิ่นเหม่ใกล้จะตกลงมาเต็มที นอกจากความมหัศจรรย์ของพระธาตุอินทร์แขวนที่ตั้งสง่าสีทองอร่าม การได้นั่งสมาธิและสวดมนต์ ณ ลานสวดมนต์บนพระธาตุอินทร์แขวนก็เป็นโอกาสที่ดีไม่น้อย นอกจากการได้นมัสการองค์พระธาตุอินทร์แขวนแล้ว รอบๆบริเวณของพระธาตุอินทร์แขวนยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น การบูชาเทพทันใจ รวมถึงการเสี่ยงทาย ณ รอยพระพุทธบาท ด้วยการนำธนบัตรที่อธิษฐานจิตไปวางบนผืนน้ำที่ขังอยู่ในรอยพระพุทธบาท ซึ่งหากธนบัตรของผู้อธิษฐานท่านใดม้วนขึ้นมาผู้นั้นมักจะได้รับประทานพรให้ คำอธิษฐานนั้นๆ หรือหากท่านผู้ใดที่มีอาการป่วยและต้องการขอพรให้ญาติสนิทรมิตรสหายหายจาก อาการป่วยได้ด้วยการไปขอพร จาก นางชเวนันจิน ได้ด้วยเช่นกัน

เดินทางไปขอพรให้เล่นเดิมพันชนะ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

  หากท่านทั้งหลายต้องการเดิมทางไปขอพรให้เล่นเดิมพันคาสิโนออนไลน์ให้ได้กำไร แต่ไม่รู้จะไปที่ไหนนั้น เราขอแนะนำ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2
คือเป็นพระอารามหลวงชนิดพิเศษ ที่พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาขึ้น เพื่อเป็นวัดประจำพระนคร
หรือประจำพระองค์พระมหากษัตริย์ในประเทศไทยปัจจุบัน พระอารามหลวงชนิดนี้ มีจำนวน 6 วัด ได้แก่

วัดในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร)

  • วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
  • วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
  • วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
  • วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

วัดในส่วนภูมิภาค

  • วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี
  • วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม

       วัดอรุณเป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
เดิมเรียกว่า “วัดมะกอก” ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น “วัดมะกอกนอก”
เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกันแต่ อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ชื่อ “วัดมะกอกใน” ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๑๐ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพ
ล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น “วัดแจ้ง”
เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัด นี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง

       เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีและได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลาง พระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา
นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็น ราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้าน คู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐาน
พระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จ พระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)
ได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์นี้มาจากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์ ได้ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒โดยโปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐาน

       เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ
ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก
วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มี พระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (ร. ๒) เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์
วัดแจ้งไว้ในมณฑป และมีการสมโภชใหญ่ ๗ คืน ๗ วัน(ในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน
ณ วัด พระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง ส่วนพระบางนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรด
พระราชทานคืนไปนครเวียงจันทร์) แต่สำเร็จเพียงแค่กุฎีสงฆ์ก็สิ้นรัชกาลที่ ๑ ใน พ.ศ. ๒๓๕๒ เสียก่อน
ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ
ทั้งได้ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธาน ในพระอุโบสถ
และโปรดให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ แล้วโปรดพระราชทาน พระนามวัดว่า “วัดอรุณราชธาราม”

พระประธาน

พระประธานในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามว่า “พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก”
หล่อในรัชกาลที่ ๒ กล่าวกันว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ด้วยพระองค์เอง
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๓ ศอกคืบ ประดิษฐานเหนือแท่น บนฐานชุกชี ที่พระพุทธอาสน์พระประธาน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้อัญเชิญพระบรมอัฐิรัชกาลที่ ๒ มาบรรจุได้ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๓๘
เวลา ๑๖.๐๐ น. เกิดอัคคีภัยไหม้พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รีบเสด็จพระราชดำเนิน
มาอำนวยการดับเพลิงด้วยพระองค์เอง และอัญเชิญพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมอัยกาธิราชออกไปได้ทัน
เพลิงไหม้หลังคาพระอุโบสถหมด จึงโปรดให้พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์พระอุโบสถให้คืนดีดังเดิมและสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระบานริศรานุวัดติวงศ์ก็ประทานความเห็น ในการซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ
ให้รักษาของเก่าไว้อย่างดีที่สุด และภาพที่จะเขียนซ่อมใหม่ก็ให้กลมกลืนกับภาพเดิม

พระอุโบสถ

โดยรอบพระอุโบสถมีซุ้มใบเสมา ๘ ซุ้ม ในเสมาเป็นใบคู่ทำด้วยหินสลัก ลวดลายงดงามประดิษฐานอยู่ในซุ้มหินอ่อน
ทำเป็นรูปบุษบกยอดเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง สูง ๒ วา ๑ ศอก ระหว่างซุ้มใบเสมามีสิงโตหินแบบจีนตัวเล็ก ๑๑๒ ตัว
ตั้งอยู่บนแท่น มีเหล็กยึดแท่นให้ติดกันโดยตลอด เว้นแต่ช่องตรงกับบันไดพระอุโบสถริมช่องว่างนั้นมีตุ๊กตาหินรูปคนจีน
นั่งบนเก้าอี้หน้าสิงโตจีนอีกช่องละ๒ ตัว ๘ ช่อง รวมเป็น ๑๖ ตัว

พระวิหาร

ปูชนียสถานสำคัญของวัดอรุณราชวรารามอีกหลังหนึ่งคือพระวิหาร เป็นอาคารยกพื้นสูง เช่นเดียวกับพระอุโบสถ
หลังคาลด ๓ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี หน้าบันมีรูปเทวดาถือพระขรรค์ยืนอยู่บนแท่นประดับด้วยลายกนกลงรักปิดทอง
ประดับกระจก มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้ามีประตูเข้า ๓ ประตู ด้านหลังมี ๒ ประตู ผนังด้านนอก
ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลายก้านแย่งกระบวนไทย เป็นกระเบื้องที่รัชกาลที่ ๓ ทรงสั่งมาจากเมืองจีน
ปัจจุบันได้ใช้พระวิหารนี้เป็นการเปรียญของวัดด้วย พระประธานในพระวิหาร คือ พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๖ ศอก หล่อด้วยทองแดงปิดทองพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้หล่อขึ้นพร้อมกับพระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศเทพวราราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ ทางวัดได้พบพระบรมธาตุ ๔ องค์
บรรจุอยู่ในโกศ ๓ ชั้น อยู่ในพระเศียร ที่ฐานชุกชีด้านหน้าพระชุมภูนุท มีพระอรุณหรือพระแจ้งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
องค์พระและ ผ้าทรงครองหล่อด้วยทองต่างสีกัน หน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตร

ศาลาท่าน้ำรูปเก๋งจีน

มี ๖ หลัง อยู่ที่เขื่อนหน้าวัด ตรงมุมเหนือสุดที่ปากคลองวัดแจ้งหลัง ๑ ตรงกับประตูซุ้ม ยอดมงกุฎ ๓ หลัง
ตรงกับต้นพระศรีมหาโพธิ์หลัง ๑ และตรงกับทางเข้าพระปรางค์อีกหลัง ๑ ที่ศาลาเก๋งจีนมีสะพานยื่นลงไปในแม่น้ำ
เว้นแต่ด้านเหนือสุด ส่วนหลังที่ตรงกับทางเข้า พระปรางค์นั้น มีรูปจระเข้หินอยู่ด้านหน้าข้างละตัว ศาลาเหล่านี้สร้างขึ้น
ในรัชกาลที่ ๓เหมือนกันหมด คือ หลังคาเป็นรูปเก๋งจีน มียกพื้นสำหรับนั่งพักทำด้วยหินทรายสีเขียว โดยเฉพาะ ๓ หลัง
ตรงประตูซุ้มยอดมงกุฎนั้น หลังเหนือและใต้มีแท่นหินสีเขียวตั้งอยู่ตรงกลาง เข้าใจว่าจะเป็นที่สำหรับวางของและหลังศาลา
เก๋งจีน ๓ หลังนี้มีรูปกินรีแบบจีนทำด้วยหินทรายสีเขียว ตั้งอยู่ ๒ ตัว

ภูเขาจำลอง

อยู่หน้าวัดทางด้านเหนือ หลังศาลาน้ำรูปเก๋งจีน ๓ หลัง กล่าวกันว่า เดิมเป็นภูเขาจำลองที่โปรดให้สร้างขึ้น
ในพระบรมมหาราชวังในรัชกาลที่ ๑ ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ โปรดให้นำมาไว้ที่วัดนี้ ภูเขาจำลองนี้มีรั้วล้อมไว้เป็นส่วนหนึ่ง
โดยเฉพาะ มีตุ๊กตาจีน ๒ ตัวนั่งบนแท่นอยู่นอกรั้วด้านหน้า ตรงประตูเข้าทำเป็นรูปทหารเรือเฝ้าอยู่ ๒ คน

อนุสาวรีย์ธรรมเจดีย์

อยู่ด้านใต้ของภูเขาจำลอง มีถนนที่ขึ้นจากศาลาท่าน้ำเก๋งจีน ๓ หลังไปพระอุโบสถคั่นกลาง อนุสาวรีย์แห่งนี้
มีกำแพงเตี้ยๆเป็นรั้วล้อมรอบ ภายในรั้ว นอกจากจะมีโกฐิหินทรายสีเขียวแบบจีนบรรจุอัฐิของพระธรรมเจดีย์แล้ว ยังมีประตูและ
มีภูเขาจำลองเตี้ยๆ กับปราสาทแบบจีนเล็กๆ มีตุ๊กตาหินนอนอยู่ภายใน มีภาษาจีนกำกับซึ่งชาวจีนอ่านว่า ฮก ลก ซิ่ว